เรื่องทั่วไปเกี่ยวกับท่อพีวีซี

หากพูดถึง คำว่า "ท่อพีวีซี" หลายๆคนคงนึกถึง ท่อสีฟ้าที่อยู่ตามอาคารบ้านเรือน ใช้เดินน้ำประปาไว้กินไว้ใช้

เราทำความรู้จักกันดีกว่า  พอลิไวนิลคลอไรด์ (Polyvinyl chloride; IUPAC: Polychloroethene) มีชื่อย่อที่ใช้กันทั่วไปว่า พีวีซี (PVC) เป็นพลาสติกชนิดหนึ่ง ที่คุณสมบัติที่ดีหลายๆอย่างมีความยืดหยุ่น ทนต่อแรงดันน้ำได้ดี ทนต่อสภาวะกัดกรอน ทนต่อสภาสะกรดด่าง ซึ่งทำให้ไม่เกิดสนิมเป็นฉนวนไฟฟ้า ไม่ติดไฟ ราคาถูก โดยปกติแล้วท่อพีวีซีในประเทศมีมาตรฐานยาว 4เมตร (ยกเว้นท่อแหวนยาง)ซึ่งเป็นมาตรฐานที่ได้คำนวนแล้วว่าสะดวกใช้งานและการจัดส่ง

ท่อพีวีซีสีฟ้า เหมาะกับงานเดินน้ำประปา อุโมงส่งน้ำ ทนต่อแรงดันน้ำเป้นอย่างดีทั้งถายในและภายนอก เพราะผิวท่อมีความราบรื่นและแข็งแรง ขอควรระวังคือ ไม่ทนต่อความร้อน ผลิตตามมาตรฐาน มอก.17-2532

ท่อพีวีซีสีเหลือง  เหมาะกับงานเดินสายไฟ ผลิตเพื่อให้ทนต่อความร้อน สามารถเดินท่อภายนอกอาคารได้ ผลิตตาม มอก.216-2524

ท่อพีีวีซีสีเทา เหมาะกับงานด้านเกษตร

ท่อพีวีซีสีขาว เหมาะกับงานเดินสายไฟ

ความหนาของท่อพีวีซี

มาดูกันว่าความหนาของท่อพีวีซีแต่ล่ะชนิดคืออะไร

ชั้นท่อพีวีซี

ชั้นท่อพีวีซี เช่น ชั้น 5 ชั้น 8.5 ชั้น 13.5 บ่งบอกถึงการรับแรงดันของท่อนั้นๆ 
  • พีวีซี .5 จะรับแรงดันได้ 5กก.ต่อตารางเซนติเมตร
  • พีวีซี 8.5 จะรับแรงดันได้ 8.5กก.ต่อตารางเซนติเมตร
  • พีวีซี 13.5 จะรับแรงดันได้ 13.5กก.ต่อตารางเซนติเมตร
ทั้งหมดก่ขึ้นอยู่ผู้ใช้งานจะนำไปใช้งานให้ถูกต้องตามงานนั้น เช่นท่อระบายน้ำใช้ พีวีซี .5 ท่อประปาใช้ พีวีซี 13.5 เป็นต้น

ระบบประปา

Pipeline-ระบบประปา

ระบบประปา

เป็นระบบส่งน้ำสำหรับอุปโภคบริโภคโดยมีท่อส่งน้ำไปยังจุดต่างๆในที่พักอาศัย เช่น ห้องน้ำ ห้องครัว ฯลฯ ชนิดของท่อที่ใช้ได้แก่ ท่อพีวีซี(PVC),ท่อพีอี(HDPE)และท่อเหล็กกาวาไนซ์(Galvanize) แต่ท่อพีวีซีได้รับความนิยมสูงสุด เนื่องจากอายุการใช้งานนาน ราคาไม่แพง ต่อประกอบและซ่อมแซมได้ง่าย โดยท่อพีวีซีที่ใช้มีขนาด 1/2-1นิ้ว และควรใช้ท่อพีวีซีชั้นคุณภาพ 13.5 ซึ่งเหมาะสำหรับงานรับแรงดันสูง ที่เกิดจากการทำงานของปั้มน้ำ

ระบบระบายน้ำ

ระบบระบายน้ำ เป็นระบบที่ระบบน้ำเสีย ออกจากอาคารที่พักอาศัยไปสู

่ระบบบำบัดน้ำเสียและระบบน้ำสาธารณะ โดยท่อที่ใช้เป็นท่อพีวีซี(PVC) ที่มีขนาดใหญ่กว่าท่อประปาน้ำดีคือขนาด 2-10นิ้ว และเป็นท่อชั้นคุณภาพ 5 สำหรับงานระบายน้ำที่ไม่มีแรงดันภายในเส้นท่อ แบ่งออกเป็น 4ระยยย่อยได้แก่

1.ระบบระบายน้ำทิ้ง-ระบายน้ำทิ้งที่ไม่มีสิ่งปฎิกูล เช่น น้ำจากรูระบายน้ำทิ้งที่พื้น,อ่างล้างมือ,อ่างอาบน้ำ,โดยใช้ท่อขนาด 2นิ้ว ต่อจากจุดระบายน้ำก่อนต่อเข้าสู่ถังบำบัด

2.ระบบระบายน้ำโสโครก-ระบบน้ำเสียที่มีสิ่งปฎิกูล เช่น โถปัสสาวะ,โถชักโครก,โดยใช้ท่อขนาด 2-4นิ้ว ต่อจากจุดระบายน้ำก่อนต่อเข้าถังบำบัด

3.ระบบระบายอากาศ-ระบายอากาศและกลิ่นเหม็นที่มาจากระบบระบายน้ำโสโครก และระบบระบายน้ำทิ้งออกนอกอาคาร โดยใช้ท่อขนาด 1.1/2-2นิ้ว

4.ระบบระบายน้ำทิ้งจากครัว-ระบายน้ำเสียจากอ่างล้างจานในห้องครัวโดยใช้ท่อขนาด 2นิ้ว ต่อจากจุดระบายน้ำผ่านเข้าถังดักไขมัน ก่อนระบายน้ำไปสู่ระบบระบายน้ำสาธารณะ เพื่อป้องกันเส้นท่ออุดตัน จากไขมันในเศษอาหารที่มักเกาะตามผิวท่อพีวีซี